ตรวจเช็คสุขภาพใจ
  • สำหรับประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น
  • นโยบาย-มาตรการ
    ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

    นโยบายการอนุรักษ์พลังงาน
    ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

    VDO-Thailand Energy Awards 2023

    แบบคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยจิตเวช


    Personnel-SafetyGoals : Social Media and Communication


    S 2: Social Media and Communication Professionalism

    Definition

    “สื่อสังคมออนไลน์” (Social Media) หมายความว่า สื่อหรือช่องทางในการติดต่อสื่อสารหรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เน้นการสร้างและเผยแพร่เนื้อหา ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน (Creation and Exchange of User-Generated Content) หรือ สนับสนุนการสื่อสารสองทาง หรือการน าเสนอและเผยแพร่เนื้อหาในวงกว้างได้ด้วยตนเอง เช่น กระดานข่าว, Facebook, YouTube, LINE เป็นต้น

    Goal

    เพื่อให้บุคลากรของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์มีการใช้งานและการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และสื่ออื่นๆ อย่างเหมาะสมและมีความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) และลดปัญหา ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองและองค์กร

    Why

              เกิดจากการใช้งานและการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และสื่ออื่นๆ อย่างไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นมืออาชีพ (Unprofessional Conduct) ส่งผล หรืออาจทำให้บุคลากรทางการแพทย์ถูกดำเนินการทางจริยธรรมหรือทางวินัย และอาจสร้างความเสียหายต่อตนเอง สถานพยาบาล วิชาชีพ หรือเกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยได้

    Process

    1.การกำหนดนโยบายการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

    1.1 คำสั่งจัดตั้งคณะกรรมข้อมูลข่าวสารทางราชการสำหรับพิจารณาข้อมูล หรือข่าวสารต่างๆของ รพ.ก่อนการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์

    2.พึงปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมถึงประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล กฎหมายว่าด้วย สุขภาพแห่งชาติ กฎหมายของวิชาชีพสุขภาพต่างๆ และกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

    3.แนวปฏิบัติการบันทึกภาพ/เสียง/ข้อมูลในโรงพยาบาล

    3.1 ห้ามถ่ายภาพและเผยแพร่ภาพ สถานที่ บุคลากร ของสถานพยาบาลและแหล่งฝึกก่อนได้รับ อนุญาต

    3.2 ห้ามบุคลากร Post สื่อ social ในลักษณะให้ร้าย ดูหมิ่น เหยียดหยามบุคลากรทุกสาย วิชาชีพ โจมตีกลั่นแกล้ง หรือคุกคาม ทำให้ผู้อื่นเสียหาย (Cyber-bullying)

    3.3 ห้ามบุคลากร Post รูปของผู้ป่วย ในกรณีที่จะใช้ต้องขออนุญาต และปกปิดส่วนที่สามารถระบุความเป็นตัวตนได้และปกปิดพื้นที่สงวน

    3.4 ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยถ่ายรูปทีมรักษาพยาบาล

    3.5 กรณีสื่อสารมวลชนขออนุญาตถ่ายรูปเพื่อทำข่าว หรือเจ้าพนักงานของรัฐถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ

              3.5.1 จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้แทน

              3.5.2 ผู้ป่วยและญาติจะต้องยินยอม

              3.5.3 การถ่ายภาพผู้ป่วยจะต้องไม่กระทบสิทธิผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงโดยให้หน่วยงานที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่เป็นผู้ประสานงาน ดูแล อำนวยความสะดวก และกำกับมิให้เกิดการละเมิดสิทธิผู้อื่น    ที่อยู่บริเวณนั้น

              3.5.4 กรณีผู้สื่อข่าว ให้งานประชาสัมพันธ์คณะเป็นผู้ประสานงานหลัก

    4.แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ควรครอบคลุมถึงประเด็นต่อไปนี้

              4.1 กำหนดแนวทางการใช้งานให้ใช้ได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ไม่อนุญาต ให้ใช้เรื่องส่วนตัวในขณะปฏิบัติงาน

              4.2 การคำนึงถึงความความปลอดภัย (Safety) และเป็นส่วนตัว (Privacy) ของบุคคล อื่นโดยเฉพาะผู้ป่วย โดยการปกปิดชื่อ-สกุลของผู้ป่วยแต่ต้องระบุได้ว่าเป็นข้อมูลของ ใคร (เช่น ใช้HN ในการระบุผู้ป่วย) และต้องทำลายข้อมูลทิ้งทันทีเมื่อไม่ใช้ใน 24 ชั่วโมง

              4.3 ห้ามบุคลากรทำการโฆษณาที่ผิดกฎหมายหรือจริยธรรม หรือใช้ชื่อองค์กรเพื่อการ โฆษณาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

              4.4 หลีกเลี่ยงการเผยแพร่เนื้อหาที่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือที่อาจทำให้บุคคลอื่น เสียหาย

              4.5 ห้ามเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือเป็นอันตราย

              4.6 อนุญาตให้บุคลากรใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการปรึกษา ให้คำปรึกษา ติดตาม หรือ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อสั่งการรักษา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

              4.7 หลีกเลี่ยงการให้หมายเลขโทรศัพท์ Line ID หรือบัญชีส่วนตัวผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์กับผู้รับ บริการ

              4.8 การเผยแพร่ภาพถ่ายและข้อความส่วนตัวของผู้ปฏิบัติการพยาบาลให้พิจารณาความเหมาะสมของภาพและข้อความอย่างละเอียดรอบคอบก่อนการเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่เอง และ/หรือการ เข้าไปแสดงความคิดเห็น (comment) รวมถึงการส่งต่อ (share)

              4.9 หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพและเผยแพร่ภาพที่อาจแสดงถึงการขาดความเป็นวิชาชีพ เช่น ภาพ ขณะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติด ภาพที่ส่อไปในทางเพศหรือลามกอนาจาร ภาพที่ใช้ความ รุนแรง ภาพที่แสดงตัวหรือทำให้เข้าใจได้ว่าดูหมิ่นเหยียดหยามคนบางกลุ่ม เป็นต้น

              4.10 พึงระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นบนสื่อออนไลน์ที่เป็นข้อถกเถียงหรือสุ่มเสี่ยง อย่างมากในสังคม เช่น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การเมืองการปกครอง เป็นต้น

              4.11 พึงระมัดระวังในการเผยแพร่ภาพหรือเนื้อหาในขณะปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพในลักษณะ ที่อาจถูกมองว่าไม่เหมาะสม เช่น การเผยแพร่ภาพถ่ายในหอผู้ป่วย ภาพขณะมีการดูแลรักษาหรือทำหัตถการ กับผู้ป่วยอยู่ ภาพผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิต เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปรากฏตัวผู้ป่วยหรือข้อมูลของ ผู้ป่วยอยู่ในภาพหรือเนื้อหาดังกล่าวด้วย ไม่ว่าจะสามารถระบุตัวตนของผู้ป่วยได้หรือไม่ก็ตาม

              4.12หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อ ชุดแต่งกาย เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของรพ.ในประการที่อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นผู้แทนขององค์กรนั้น พึงปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับ การใช้ชื่อ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของรพ.หากมีความจำเป็นต้องใช้

    5. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของงานประชาสัมพันธ์ รับผิดชอบในการเฝ้าระวังข้อความที่ปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจจะส่งผลกระทบด้านลบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์และ ความเชื่อมั่นขององค์กร กรณีที่ต้องแถลงข่าว        ให้ข้อมูลต้องมีการซักซ้อมและเป็นบุคคลที่ ได้รับอนุญาต

    วีดีโอเกี่ยวกับ ร.พ.

    ↑ TOP